สถิติ
เปิดเมื่อ28/10/2012
อัพเดท2/03/2013
ผู้เข้าชม23831
แสดงหน้า27455
ปฎิทิน
April 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
   
คำค้น




บทความ

บทที่ 3 การออกแบบและเทคโนโลยี
รหัสวิชา ง 22101 ชื่อวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34 
ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นปีที่ 
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ 

บทที่ 3 เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี ( Design and Technology )

สาระที่ 3: การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1 : เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการ และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เข้าใจความหมายของการออกแบบทางเทคโนโลยี
2. เข้าใจลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยี
3. อธิบายหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร
4. อธิบายการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1H
5. อธิบายหลักการออกแบบและเทคโนโลยี
6. ชื่นชมผลงานการทำงานของผู้อื่นและตนเอง

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของการออกแบบทางเทคโนโลยีได้
2. อธิบายลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยีได้
3. อธิบายหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสารได้ 
4. อธิบายการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1H ได้ 
5. อธิบายหลักการออกแบบและเทคโนโลยีได้
6. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบในชีวิตประจำวันได้
7. สามารถวาดภาพตามหลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสารได้
8. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับความหมาย ลักษณะผลผลิตของการออกแบบทางเทคโนโลยี 
หลักการวาดภาพเพื่อการสื่อสาร หลักการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1H หลักการออกแบบและ 
เทคโนโลยีได้

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร 
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 
การออกแบบ

 
  การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน

ประเภทของการออกแบบ
 

1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design)
 
Large_บ้านสวย_ๆ

          เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัตยกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ






2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)



         เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมายหลายๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
 - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ 
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่างๆ ฯลฯ 






3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)

     เป็นการออกแบบเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่ 
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า 
- งานออกแบบเครื่องยนต์ 
- งานออกแบบเครื่องจักรกล 
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร 
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ







4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) 

ผนังห้องสวยๆ
     เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่างๆให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นนักออกแบบเรียนว่ามัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
 - งานตกแต่งภายใน (Interior Design) 
- งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design) 
- งานจัดสวนและบริเวณ (Landscape Design) 
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display) 
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition) 
- การจัดบอร์ด 
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ
 




5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)
 
      เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่างๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์   เครื่องหมายการค้า ฯลฯ 









ขอบคุณ...http://www.spywanatchaya.myreadyweb.com/article/topic-7639.html